วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

10.พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ (Pembroke Welsh Corgi)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอร์กี้


พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ (Pembroke Welsh Corgi)

เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว แต่ใจดี


{pic-alt} ลักษณะทั่วไป


พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้มีลำตัวขนาดกลาง ลำตัวล่ำ ช่วงขาสั้น ส่วนหัวคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก ใบหูตั้งชัน มีขนทั้งสีแดง สีชา น้ำตาลอ่อน น้ำตาลแดง และสีดำ หางสั้น ชอบอยู่ในพื้นที่เล็กๆแคบๆ จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงไว้ในบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นขวัญใจในการประกวดสุนัขและการแข่งขันกีฬาสุนัขอีกด้วย เดิมทีพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะขนาดเล็กเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี มีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์คาร์ดิแกน หางยาว ปานกลาง และพันธุ์เพ็มโบรค หางสั้น ตัวจะสั้นกว่า กระดูกขาเล็กกว่า


{pic-alt} ความเป็นมา

สุนัขสายคอร์กี้สายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในรัฐเพ็มโบรคเชียร์ แคล้นเวล์ส ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสายพันธุ์เก่าแก่เมื่อ 3,000 ปีก่อน ในช่วงศตวรรษที่ 12 เริ่มด้วยตอนแรกเรียกสุนัขพันธุ์นี้ว่า เวลส์ เคอร์ (Welsh Cur) กระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 จึงเปลี่ยนมาเรียกเป็น เวลส์ คอร์กี้ (Welsh Corgi) จนถึงปัจจุบัน โดยในปีค.ศ. 1107 ช่างทอผ้าชาวเฟรมมิช ซึ่งมีรกรากเดิมอาศัยอยู่ในประเทศเบลเยี่ยม ได้นำบรรพบุรุษสายตรงของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ข้ามช่องแคบระหว่างเกาะอังกฤษกับประเทศฝรั่งเศส เข้ามายังแคว้นเวล์ส สุนัขสายพันธุ์นี้ เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์หลายพันธุ์คือ คีชอน ,ปอมเมอเรเนียน ซามอยด์ นอร์วีเจียน เอลค์ฮาวนด์ และ ฟินนิช สปิตซ์
{pic-alt}

{pic-alt} ลักษณะนิสัย

พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ดูภายนอกเหมือนห้าวหาญเด็ดเดี่ยว แต่จริงๆ แล้วใจดีมากๆ เชื่อฟังเจ้านายและฝึกง่าย สุภาพอ่อนโยน อยากรู้อยากเห็น มีความกล้าหาญเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี แต่ไม่ก้าวร้าว ไม่ชอบเห่าพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ เป็นมิตรกับคนแปลกหน้า และน้องหมาตัวอื่นๆ ติดเจ้าของ ไม่ว่าจะเจ้าของจะไปไหนก็อยากไปด้วย

{pic-alt} การดูแล


พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้เดิมเป็นสุนัขที่เติบโตในฟาร์ม เขาจึงต้องการการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่นเดียวกันกับการแปรงขนเพื่อให้ขนนุ่มสวยเป็นประจำทุกวัน ควรอาบน้ำ 2 ครั้งต่อเดือน ไม่ควรอาบบ่อยเพราะจะทำให้มีปัญหาเรื่องผิวหนัง นอกจากนี้ ควรพาเข้าสังคม ทำความรู้จักคนแปลกหน้า น้องหมาตัวอื่นๆ เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกหวั่นกลัว เขินอาย ไม่ไว้ใจใคร จนกลายเป็นน้องหมาที่ก้าวร้าวในเวลาต่อมา

{pic-alt}


{pic-alt} ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม


ผู้ที่เหมาะสมจะเลี้ยง พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีเวลาพาเขาไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขพภาพขน มีเวลาเล่น ทำกิจกรรมกับพวกเขา ไม่ปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง เนื่องจากพวกเขาเป็นน้องหมาที่ต้องการความรัก และ การเอาใจใส่จากเจ้าของค่อนข้างสูง



{pic-alt} ข้อควรจำ

มักมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และโรคจอรับภาพเสื่อมเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เนื่องจากพวกเขามีลำตัวที่ค่อนข้างยาว ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนขณะเคลื่อนไหว จึงไม่ควรปล่อยให้พวกเขาอ้วน เพราะจะส่งผลทั้งต่อการรับน้ำหนักของกระดูสันหลัง และโรคต่างๆ ที่จะตามมา 

{pic-alt}



{pic-alt}ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้






{pic-alt} มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาดส่วนสูง 10.5–12.5 นิ้ว น้ำหนักควรเหมาะกับขนาด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25-38 ปอนด์
ศรีษะลักษณะศีรษะคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก รูปกระโหลกระหว่างหูทั้ง 2 ข้างกว้างและแบน บริเวณส่วนโหนกแก้มค่อนข้างกลมมน แต่ไม่สูงไปถึงตำแหน่งใต้ตา ระยะห่างระหว่างตำแหน่งด้านศีรษะถึงตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลางระหว่างช่วงโค้งสันจมูกของตา 2 ข้างจะมีมากกว่าระยะห่างจากตำแหน่งช่วงโค้งสันจมูกของตา 2 ข้างถึงปลายจมูก
ฟันมีลักษณ์เป็นฟันกรรไกร คือด้านในฟันบนสัมผัสกับด้านนอกของฟันล่าง
ปากริมฝีปากดำสนิท กระชับ
ตาดวงตารูปวงรีเข้มสดใส ไม่กลมแต่ดำสนิท
หูขนาดปานกลาง ตั้งตรง บริเวณยอดสามเหลี่ยมของใบหูต้องโค้งมน
จมูกดำสนิททั้งจมูก
คอลำคอมีขนาดยาวปานกลาง เพื่อเราสมดุลของร่างกาย และโค้งรับกับช่วงไหล่อย่างดี
อกช่วงอกตั้งตรง ไม่สูงหรือต่ำไปจากส่วนคอ
ลำตัวไล่ตั้งแต่เกราะซี่โครงช่วงอกลงไปถึงโคนหาง ลำตัวมีลักษณะเป็นรูปไข่วงรี อกลึกอยู่ระหว่าง 2 ขาหน้า ช่วงตัวที่อยู่ในระดับต่ำมากนี้เองที่ช่วยให้พวกเขาเคลื่อนไหวได้อย่างมีอิสระ แล้วหางมองจากด้านบน ช่วงท้ายของลำตัวจะคล้ายสิงโต เพียงแต่เป็นสิ่งโตที่ย่อขนาดให้เล็กลงนั่นเอง
เอว
ขาหน้าขาสั้น ช่วงไหล่จะเอนเข้าไปด้านในมากกว่าช่วงข้อเท้า จะสังเกตเห็นว่าขาไม่ตั้งตรงนักเวลายืน แต่พอมองด้านข้างจะเห็นว่าตรงขึ้นมามากขึ้นกว่ามองจากทางด้านหน้า
ขาหลัง
หางหางต้องสั้นโดยไม่ได้รับการตัดแต่ง อันที่จริงแล้วพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้มีหางบ็อบสั้นหยักศกอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่ยิ่งสั้นยิ่งดีและได้รับการยอมรับ
ขนมีความยาวปานกลาง หนา แต่จะยาวและหนามากบริเวณรอบๆคอ อก ไหล่ ด้านหลังของขาหน้า และใต้ท้อง ส่วนบริเวณลำตัวขนจะสั้นแบนราบขนาบกับลำตัว อย่างไรก็ตามในช่วงฤดูหนาวจะมีขนอีกชั้นขึ้นหนาใต้ขนชั้นบนที่ยาวกว่าเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกา
กระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :dogilike.com
เรียบเรียงโดย : http://ptfahnoey.blogspot.com
สืบค้นวันที่ 22/1/2561


ภาพประกอบ :





































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น