วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

7.บูลล์ด็อก (Bulldog)


อิงลิช บูลล์ด็อก (English Bulldogs)

เตี้ย ล่ำ หน้าหัก ซื่อสัตย์ นิสัยดี


{pic-alt} ลักษณะทั่วไป

อิงลิช บูลล์ด็อกมีรูปร่างใหญ่ปานกลาง มีลักษณะเตี้ย ล่ำ ศีรษะใหญ่ หน้าหัก หนังย่นโดยเฉพาะบริเวณใต้คอ ปากบนย้อยลงมา กรามล่างเกยกรามบน ตาห่าง ขนสั้น เรียบแบน เนียนตลอดตัว ขนมีทั้งสีแดง สีน้ำตาลเหลือง สีขาว สีลายต่างๆ หรือลายสลับสี

{pic-alt} ความเป็นมา


อิงลิช บูลล์ด็อกมีต้นกำเนิดมาจากสายพันธุ์เอเซียติก มาสทิฟฟ์ (Asiatic Mastiff) ซึ่งมีความดุดัน ก้าวร้าว ไว้ต่อสู้ หลอกล่อกับวัวกระทิง และเลี้ยงไว้เพื่อการต้อนสัตว์ อิงลิชบูลด็อกเกิดขึ้นและเริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1209 ในฐานะนักสู้ อย่างไรก็ตาม ในปี 1835 กีฬาการต่อสู้ได้ถูกสั่งห้ามด้วยกฎหมาย และเจ้าของอิงลิช บูลล์ด็อกพยายามที่จะนำเอาน้องหมาพันธุ์นี้ไปขึ้นสังเวียนต่อสู้ของสุนัข โชคดีที่อิงลิช บูลล์ด็อกทำผลงานได้ไม่ค่อยดี อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่รัก และชื่นชอบสุนัขสายพันธุ์นี้ยังคงทำการคัดเลือก รักษาสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ลักษณะและขนาดตามที่ต้องการ รวมทั้งปรับเปลี่ยนความก้าวร้าวที่อิงลิช บูลด็อกมีให้กลายเป็นน้องหมาที่เป็นมิตรกับมนุษย์ได้อย่างยอดเยี่ยม


{pic-alt}


{pic-alt} ลักษณะนิสัย


อิงลิช บูลล์ด็อกเป็นน้องหมาที่มีความซื่อสัตย์มากๆ แทบจะเรียกได้ว่าชีวิตนี้อุทิศให้แก่ความซื่อสัตย์ สุขุม ใจเย็น สุภาพอ่อนโยน นิสัยดี เฝ้าบ้าน ปกป้องดูแลทรัพย์สินได้ดี ฉลาด แต่อาจจะเชื่องช้าต่อการตอบรับคำสั่ง พวกเขาเป็นมิตรทั้งกับคนและสัตว์ รักเด็ก และคนในครอบครัว พวกเขารู้จักเอาใจเจ้าของ เรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อให้เจ้าของพึงพอใจ อิงลิช บูลล์ด็อกเป็นสุนัขที่ได้รับการผสมพันธุ์เพื่อไว้เป็นเพื่อนกับมนุษย์โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงมีความผูกพันกับครอบครัวมากเป็นพิเศษ พวกเขาไม่ชอบถูกทิ้งให้อยู่บ้านตัวเดียว และต้องการการใส่ใจจากเจ้าของมากๆ พวกเขาเป็นนักเดินทางตัวยง รักการนั่งรถเล่น เดินทางไปไหนมาไหนกับเจ้าของ

{pic-alt} การดูแล


อิงลิช บูลล์ด็อกขนสั้น เกรียน จึงง่ายต่อการทำความสะอาด พวกเขาต้องการการดูแลขน แปรงขนเพียง 2 -3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตามควรดูแลบริเวณรอยย่นพับตามผิวหนังบนใบหน้า คอ และหาง โดยเฉพาะหลังอาบน้ำเพื่อไม่ให้เกิดความชื้น เศษขน ติดค้างจนก่อให้เกิดเชื้อรา การติดเชื้อ หรืออาการระคายเคืองได้ ส่วนการอาบน้ำควรอาบเฉพาะเมื่อยามจำเป็นเท่านั้น เช่น มีกลิ่นเหม็น สกปรก ไปเล่นเลอะเทอะ ไม่ควรอาบบ่อยๆ เนื่องจากจะทำให้ผิวแห้ง ตัด และแพ้ง่าย ดังนั้นถ้าสุนัขไม่เปื้อนมากให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาดๆ เช็ดตัวแทน นอกจากนี้ควรแปรงฟันให้พวกเขาเป็นประจำ

การออกกำลังกาย อิงลิช บูลล์ด็อกเป็นสุนัขที่ตื่นตัวมากๆ เวลาได้พาเขาไปออกกำลังกาย และเนื่องจากอิงลิช บูลล์ด็อกมีแนวโน้มอ้วนได้ง่ายจึงควรพาไปเดินเล่น หรือออกกำลังกายเป็นประจำ พวกเขาชอบเดินเล่นหรือทำกิจกรรมกับครอบครัวมากๆ เพราะจะทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วม และรู้สึกผูกพัน อย่างไรก็ตามควรพาเขาเล่น หรือไปออกกำลังกายเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเช้าตรู่ หรือเวลาเย็น ที่อาการไม่ร้อนจัด ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการ ฮีตสโตรก (Heat Stroke) ได้ ผู้เลี้ยงควรเตรียมน้ำให้พวกเขาดื่มไว้ให้เรียบร้อย เมื่อต้องพาพวกเขาออกไปนอกบ้าน

{pic-alt} ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม


ผู้เลี้ยงอิงลิช บูลล์ด็อกควรมีเวลาให้กับพวกเขามากๆ ทั้งให้ความรัก พาออกสังคม และพาไปออกกำลังกาย สามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่แคบ ควรฝึกให้พวกเขาหัดอยู่คนเดียว เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้พวกเขาเกิดอาการซึมเศร้าได้

{pic-alt} ข้อควรจำ


อิงลิช บูลล์ด็อกมีเรื่องโรคประจำสายพันธุ์ที่ต้องระมัดระวังมากพอสมควร ทั้งโรคสะโพกเสื่อม ข้อศอกเสื่อม โรครูจมูกตีบแคบ โรคต้อกระจก โรคCherry eye ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับที่ต่อมน้ำตาที่อยู่บริเวณหนังตาที่สามารถโผล่ออกมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก ผิวหนังแพ้หรืออักเสบได้ง่าย
{pic-alt}










{pic-alt}ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้







{pic-alt} มาตรฐานสายพันธุ์



ขนาดเพศผู้กับเพศเมียมีส่วนสูงเท่ากันประมาณ 31-40 เซนติเมตร ส่วนน้ำหนักเพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 24-25 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียหนัก 22-23 กิโลกรัม
ศรีษะศีรษะใหญ่ หน้าสั้น มีจุดหักบนใบหน้าเพียงเล็กน้อย กรามหน้ามีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม กรามล่างเกยกรามบนยื่นไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
ฟันฟันล่างยื่นออกมาเกยฟันบน
ปากปากหนา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ริมฝีปากบนห้อยลงมาปกริมฝีปากล่าง
ตาตากลม ลึก สีเข้ม ขนาดปานกลาง ตาทั้ง 2 ข้างอยู่ห่างกัน
หูหูเล็กบาง ตั้งอยู่ด้านบนของศีรษะ ฐานหูตั้งขึ้นแต่ปลายหูพับลง
จมูกจมูกดำ กว้าง รูจมูกใหญ่
คอช่วงคอสั้น หนา และแข็งแรง
อกอกลึกหนา เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ซี่โครงอกขยายกว้าง
ลำตัวลำตัวสั้น ผิวหนังย่น ช่วงไหล่กว้าง เลียงไปทางด้านหลัง ซี่โครงขยาย เนื้อหน้าอกกลมแน่น ดูหนาเทอะทะ ท้ายลำตัวโค้งรับต้นขาหลังกำลังดี
เอว-
ขาหน้ากระดูกขาหนา สั้นแข็งแรง ขนานกันทั้ง 2 ข้างเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ
ขาหลังขาหลังสั้น ต้นขาใหญ่ ส่วนโค้งหน้าขาไปถึงท่อนขามีเล็กน้อย ขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง
หางหางยาวปานกลาง ทิ้งตกลงพื้น ไม่ม้วนขึ้น
ขนขนสั้น เส้นเล็ก นุ่ม เนียน หนา
สีขนมีขนสีลายต่างๆ ลายสีแดง หรือลายสีอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีขนสีขาว สีน้ำตาลเหลือง สีเหลืองซีด สีเนื้อ หรือสีผสมกัน เช่นสีขาวกับสีน้ำตาล เป็นต้น ส่วนสีดำ หรือสีเทาไม่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสายพันธุ์



ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :dogilike.com
เรียบเรียงโดย : http://ptfahnoey.blogspot.com
สืบค้นวันที่ 22/1/2561


ภาพประกอบ:















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น